วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาฐานการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Blogger รุ่นที่ 3 วันที่ 2-3 มี.ค 58


best practice

โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๑.ชื่อโครงการ  การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒.สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๘
ยุทธศาสตร์ข้อที่๒
๓.สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ของสำนักงาน กศน.
ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๒.๓
๔.หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายไทยเข้มแข็ง เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ผ่านพ้นสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ  ปัญหาสิ่งเสพติด  และปัญหาคอรัปชั่น  โดยเน้นให้ประชาชนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อแก้ปัญหาความยากจน  รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในลักษณะนโยบายคู่ขนาน  ที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาสและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน  พร้อมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน  ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง  ในการที่จะกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการที่จะลดรายจ่ายเพิ่มรายได้  นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
กศน.ตำบลพงษ์  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสันติสุข  มีบทบาทและพันธกิจในการจัดการศึกษาให้กับประชาชน  ผู้พลาดและขาดโอกาสทางสังคม  จึงได้จัดโครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำไปเผยแพร่เป็นแนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ต่อไป

๕.วัตถุประสงค์
. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ที่เหมาะสมให้กับประชาชน
   ๒. เพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
. เพื่อส่งเสริมอาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน
๖.เป้าหมาย     
เชิงปริมาณ
          นักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป  จำนวน  ๑๐๐  คน
          เชิงคุณภาพ
๑.      ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ต่าง ๆ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสม
๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเผยแพร่แนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
๓. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายน้อมนำเอาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต


7.ผลการดำเนินงาน
๗.๑ งบประมาณ
          ได้รับการจัดสรรงบประมาณ                 จำนวน  ๑๐,๕๘๐ บาท
          งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ                   จำนวน  ๑๐,๕๘๐ บาท
          ร้อยละของการใช้จ่ายงบประมาณ            ร้อยละ ๑๐๐
     ๗.๒ กิจกรรมที่ดำเนินการ
.โครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปผลการประเมินระดับความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรมโครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อยู่ในระดับ ดีมา



กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียง สวนเกษตรผสมผสาน นายอินผ่าน ธัญญะ
หมู่บ้านโป่งคำ หมู่ที่ 5 ตำบลดู่พงษ์  อำเภอสันติสุข  จังหวัดน่าน







































etv วิทยาศาสตร์ ความรู้เรื่องไฟฟ้า



ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ การใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

กิจกรรม/โครงการ กศน.ตำบลดู่พงษ์

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ระดับ ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจัดการศึกษาให้ผู้ที่  พลาดโอกาส ขาดโอกาส และด้อยโอกาส  ในการเข้าศึกษา / เรียนในระบบโรงเรียน  และจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดเพศ    มีรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม และมีสาระหลักสูตรที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตการทำงานและการศึกษาต่อเนื่อง
          รับผิดชอบ  งานประกันคุณภาพการศึกษา
          รับผิดชอบ  นักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ

          จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีจุดหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน มีรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม และมีสาระหลักสูตรที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
                            
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

          จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุขความปลอดภัยในสังคม มีรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม และมีสาระหลักสูตรที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

          จัดการศึกษาด้วยรูปแบบ วิธีการ ที่เหมาะสม และมีสาระหลักสูตรที่หลากหลายสอดคล้องกับ นโยบาย ปัญหา ความต้องการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตการทำงานและการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน 

การส่งเสริมการรู้หนังสือ

          จัดการศึกษาเพื่อมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทย อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น  เพื่อใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน และใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในการดำรงชีวิต กลุ่มเป้าหมายคือ  ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ   

  
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

          จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ การศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน ผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้  ได้ศึกษาได้ด้วยตนเองตามความสน และความต้องการ 


แหล่งภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้

 แหล่งภูมิปัญญา วิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษาประเภทบุคคลแหล่งเรียนรู้

ที่
ชื่อ สกุล
ความรู้ด้าน
ที่อยู่
1
พระครูสุจินนันทกิจ
อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าไม้
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนโป่งคำ
2
นายจำนงค์จันธิมา
หมอดิน
บ้านดอนดู่พงษ์  ม.4
3
นายบุญเหลิมศิริมูล
เกษตรผสมผสาน
บ้านดอนดู่พงษ์  ม.4
4
นายสมบัติ  ก๋าคำมูล
หมอสู่ขวัญ
บ้านดอนดู่พงษ์  ม.4
5
นายมา  สุทธเขต
จักสานไม้ไผ่
บ้านโป่งคำ ม.5
6
นางหลอ  จันอ้น
ย้อมสีผ้าจากสีธรรมชาติ
บ้านโป่งคำ ม.5
7
นายอินผ่าน  ธัญญะ
เกษตรผสมผสาน
บ้านโป่งคำ ม.5
8
นายทา  พันชา
ยาสมุนไพรพื้นบ้าน
บ้านกิ่วม่วง ม.6


ประเภทสถานที่และองค์กร
1.       องค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์
2.       โรงพยาบาลสันติสุข
3.       โรงเรียนบ้านดู่พงษ์
4.       โรงเรียนบ้านโป่งคำ
5.       โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม
6.       ห้องสมุดประชาชนอำเภอสันติสุข
7.       กศน.ตำบลดู่พงษ์
8.       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์
9.       โรงเรียนสายใยรักวิทยา
10.   โรงวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา
11.   วัดบ้านน้ำโซ้ง
12.   วัดบ้านดู่พงษ์
13.   วัดบ้านภูแยง
14.   วัดดอนมงคล
15.   วัดบ้านโป่งคำ
16.   วัดบ้านต้นผึ้ง
17.   ที่พักสงฆ์อารามบ้านกิ่วม่วง


ด้านการดำเนินการในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ
1         ชุมชนบ้านโป่งคำ หมู่  5
2         ชุมชนบ้านดอนมงคลหมู่  4
3        ชุมชนบ้านน้ำโซ้งหมู่   7                                                                                                                                                                   
4   ชุมชนบ้านต้นผึ้งหมู่   8
ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
1.  มีลำน้ำลำห้วย                                
2.   สระน้ำขนาดเล็ก                             
3.   ฝายน้ำล้น                                    
4.   มีอ่างเก็บน้ำ                                  
5.   มีบ่อน้ำตื้น                                   
6.   มีบ่อโยก                            
ประเภทกิจกรรมทางสังคม-วัฒนธรรม
1.       กิจกรรมแห่ครัวตานล้านนา
2.       กิจกรรมตานฉลาก
3.       กิจกรรมตานข้าวใหม่
4.       กิจกรรมสู่ขวัญข้าว
5.       กิจกรรมยกช่อฟ้า
6.       กิจกรรมบวชภาคฤดูร้อน
7.       กิจกรรมบวชนาค
8.       กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
9.       กิจกรรมวันลอยกระทง
10.   กิจกรรมเลี้ยงผีปู่ผีย่า
12.   พิธีเลี้ยงผีหอเจ้าหลวงพ่อฟ้า (ศาลเจ้าฟ้า)บ้านดู่พงษ์
ต้นทุนด้านงบประมาณ
1.       องค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์
2.       หมู่บ้าน/ชุมชน
3.       กศน.ตำบลดู่พงษ์
4.       ภาคีเครือข่า
ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

ด้าน
ปัญหา
ความต้องการ
ด้านการรู้หนังสือ
ประชาชนในพื้นที่บางส่วนไม่รู้หนังสือ ทำให้เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้านการเขียนเพื่อสื่อความหมาย
ต้องการให้มีการสอนหนังสือให้กับผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านั้นให้อ่านออกเขียนได้
ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สายสามัญและปวช.)
ประชาชนบางส่วนยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้บางครั้งขาดโอกาสในการศึกษาต่อ หรือการทำงาน
ต้องการให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้
คลอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง
ด้านอาชีพ
1.ชุมชนมีอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมีเหมือนกันจนบางครั้งเกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาลดต่ำลง
2.ประชาชนในพื้นที่ไม่มีอาชีพเสริม
3.ขาดตลาดในการจำหน่ายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์
1.ต้องการให้มีการส่งเสริมในการแปรรูปผลผลิต เพื่อเพิ่มราคาให้กับผลผลิตนั้น  ๆ
2.การส่งเสริมให้มีประชาชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
3.ต้องการให้หน่วยงานเป็นส่วนหนึ่งในการหาตลาดให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต
ประชาชนในพื้นที่บางส่วนขาดทักษะในเรื่องของการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งในบางครั้งสามารถทำเกิดผลกระทบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมได้
ต้องการให้มีการส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่
ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน
ประชาชนในพื้นที่บางส่วนยังขาดความตระหนักในเรื่องของการพัฒนาตนเองและชุมชน ทำให้บางชุมชนเกิดความล้าหลังในการพัฒนา
ต้องการให้มีการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการพัฒนาตนเองและในเรื่องต่าง ๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่
ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนในพื้นที่บางส่วนยังมีฐานะยากจนประกอบกับมีหนี้สินมาก ไม่สามารถที่จะดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
ต้องสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีการส่งเสริมทั้งด้านความรู้และส่งเสริมอาชีพที่สามารถให้เห็นเป็นรูปธรรมได้
ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
สื่อและแหล่งบริการด้านการศึกษาตามอัธยาศัยยังไม่สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์
ต้องการให้มีสื่อและการบริการด้านการศึกษาตามอัธยาศัยให้ทุกพื้นที่ในชุมชน